
23 พ.ย. 2010 พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง
พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี ชื่อพันธุ์ – กข17 (RD17) ชนิด – ข้าวเจ้า คู่ผสม – ไออาร์262 / ปิ่นแก้ว 56 ประวัติพันธุ์ – ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์ 262 และพันธุ์ปิ่นแก้ว 56 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง และสถานีทดลองข้าวหันตรา จนได้สายพันธุ์ BKN6986-66-2 การรับรองพันธุ์ – คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522
ลักษณะประจำพันธุ์ – เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 130 เซนติเมตร – ไม่ไวต่อช่วงแสง – อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 140 วัน – ลำต้นและกาบใบสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง ใบสีเขียวค่อนข้างสั้นและแคบ รูปแบบทรงต้นดี รวงอยู่ใต้ใบธง – เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง – ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ – ท้องไข่ปานกลาง – เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.0 x 1.8 มิลลิเมตร – ปริมาณอมิโลส 28 – 30 % – คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ผลผลิต – ประมาณ 645 กิโลกรัมต่อไร่ ลักษณะเด่น – สามารถทนน้ำท่วม เมื่อต้นข้าวจมอยู่ใต้ผิวน้ำไม่เกิน 50 เซนติเมตร ไม่เกิน 7 วัน – ทนแล้งปานกลาง – มีความสามารถในการยืดปล้องได้ปานกลาง – คอรวงยาว มีเมล็ดต่อรวงมาก – ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง ข้อควรระวัง – ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พื้นที่แนะนำ – ปลูกในฤดูนาปรังของภาคกลาง ในบริเวณที่ลุ่มน้ำลึกประมาณ 1 เมตรและอาจใช้ปลูกใน ฤดูนาปีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
No Comments