ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นผักอุตสาหกรรมและส่งออกที่สำคัญซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านบาท โดยข้าวโพดฝักอ่อนไทยมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ นับเป็นความภูมิใจของเกษตรกรไทยชาวเกษตรอินทรีย์สามารถศึกษาและเริ่มลงมือปลูกข้าวโพดอ่อนสำหรับบทความนี้ได้เลย

สำหรับการส่งออกข้าวโพดอ่อนนั้นจะอยู่ในรูปการบรรจุกระป๋องแล้วก็มีการส่งออกแบบฝักสดและยังมีการส่งออกแบบแช่แข็งการปลูกข้าวโพดอ่อนนั้นมีวิธีการปลูกไม่ยุ่งยากไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเนื่องจากเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 45-50 วันมีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเพียง 7-10 วันดังนั้นกระบวนการทั้งหมดในการเก็บฝักข้าวโพดอ่อนใช้เวลาเพียง 60-70 วันเท่านั้นทั้งนี้การปลูกข้าวโพดเพื่อเก็บฝักอ่อนสามารถปลูกได้ 4-5 ครั้งต่อปีซึ่งเป็นการปลูกที่ทำให้สร้างรายได้ดีอีกด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพและปริมาณของผลผลิตที่จะทำยังไงให้ผลิตได้มาตรฐานมากที่สุดเกษตรกรชาวเกษตรอินทรีย์ควรศึกษาข้อมูลก่อนที่จะลงมือปลูก

  • วิธีการง่ายๆคือเริ่มจากการรวมกลุ่มเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีปริมาณมากสำหรับผู้ซื้อสามารถทำสัญญาล่วงหน้าและวางแผนการผลิตร่วมกันได้
  • การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจำเป็นจะต้องใช้แรงงานมากในช่วงดึงดอกตัวผู้และเก็บเกี่ยวทุกวันจากผลสำรวจที่ผ่านมาพบว่าสามารถทำได้ครอบครัวละประมาณ 3-5 ไร่ดังนั้นเกษตรกรควรทยอยปลูกและวางแผนร่วมกันกับผู้ซื้อ
พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน

พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน

พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ดีนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญข้อหนึ่งที่จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพถ้ามีฝักเสียไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของโรงงานแปรรูปก็จะทำให้สูญเสียพลังงานและแรงงานไปโดยเปล่าประโยชน์ และในขณะเดียวกันถ้าเราได้ 1,000 ข้าวโพดฝักอ่อนที่มีคุณภาพดีก็จะให้ผลผลิตสูงง่ายต่อการจัดการของเกษตรกรเอง

โดยพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เป็นที่นิยมได้แก่ สุวรรณ 1, 2 แล้วก็ 3  รังสิต 1 และเชียงใหม่ 90 เป็นต้น ข้อดีของพันธุ์ข้าวโพดที่แนะนำจะมีความต้านทานโรคราน้ำค้างการเจริญเติบโตและการปรับตัวดีเมล็ดพันธุ์มีราคาแต่ก็มีข้อควรระวังคือฝักอ่อนจะโตเร็วควรเก็บฝักอ่อนในระยะที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทำให้ข้าวโพดมีขนาดโตเกินขนาดมาตรฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องการ

และนอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผสมทางราชการและเอกชนเป็นคันข้าวโพดที่มีข้อดีคือมีความสม่ำเสมอของต้นอายุและการเก็บเกี่ยวตลอดจนจำนวนฝักอ่อนได้มาตรฐานสูงกว่าพันธุ์ผสมนี้ต้องมีการดูแลรักษาด้วยดีเมล็ดพันธุ์ฝักข้าวโพดอ่อนลูกผสมจะมีราคาสูงแต่ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมคำนึงต่อคุณภาพความสม่ำเสมอของผลผลิตและมีเรื่องค่าแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการเลือกพันธุ์สำหรับเพาะปลูกจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก

แปลงข้าวโพด

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกในดินได้เกือบทุกชนิดแต่การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้ผลดีนั้นควรปลูกในดินร่วน ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ในสภาวะดินที่มีปฏิกิริยาตั้งแต่ pH 5.5 ถึง 7.0 สามารถปลูกในดินที่มีค่าเป็นกรดค่อนข้างจัดได้ด้วย

การบำรุงดินสำหรับปลูกข้าวโพดฝักอ่อนควรทำดังนี้

  • ใส่ปูนขาว กรณีที่ดินเป็นกรดการใส่ปูนขาวนั้นในอัตราส่วนที่ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะการใส่ปูนขาวนอกจากจะช่วยแก้ปัญหากรดให้ดินแล้วยังสามารถเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมแก่พืชด้วยสิ่งที่ควรปฏิบัติอีก ประการหนึ่งคือการใส่หินฟอสเฟตบดเพราะสามารถเป็นปุ๋ยแก่ข้าวโพดอ่อนได้อย่างดีนอกจากคลายความเป็นกรดแล้วยังมีธาตุฟอสฟอรัสและธาตุอาหารรองอาหารเสริมปนอยู่อย่างเพียงพอด้วย
  • ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยอินทรีย์นั้นจะช่วยให้โครงสร้างของดินดีชุ่มน้ำระบายน้ำดีอย่างสม่ำเสมอผลผลิตสูงและเปอร์เซ็นต์ของฝักมาตรฐานสูงด้วย ปุ๋ยอินทรีย์สามารถใช้ได้ถึง 5 ตันต่อไร่ โดยอย่างน้อยเกษตรกรควรใส่ปริมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่และใส่ทุกปี นอกจากนี้ต้นข้าวโพดอ่อนหากไม่นำไปเป็นอาหารสัตว์ก็สามารถใช้เป็นไถกลบดินเพื่อบำรุงดินได้ดีอีกด้วย

การเตรียมดินสำหรับปลูกเข้าโพดฝักอ่อน

ขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่งมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตรแล้วยกร่องเป็นลูกฟูกสูงประมาณ 25 cm ให้ระบายน้ำได้ดี สำหรับฤดูฝนให้ใช้พื้นที่นาใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักตามที่หาได้เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย

วิธีการปลูกทั่วไปจะปลูกเป็นหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ก่อนหน้านั้นจะให้น้ำประมาณ  3 วันเพื่อหลังจากปลูกแล้วจะทำให้เมล็ดงอกได้ดีรับความชื้นได้เหมาะสม ก่อนปลูกควรเอาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมประมาณ 1 กรัมมะพร้าวต่อ 1 หลุมหรือจะใส่ปุ๋ยเคมีหลุมละ 7 กรัมหรือฝาน้ำอัดลมใช้สูตร 20-20-0  หรือ 16-20-0  คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากันเอาดินกลบบางๆหยอดเมล็ดหลุมละ 4-5 เม็ดก่อนหยอดเมล็ดควรทดสอบความงอกของเมล็ดในแต่ละเมล็ดที่เอามาเพาะปลูกด้วย 

ระยะเวลาการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  1. จำนวนต้นต่อพื้นที่
  2. พันธุ์ของข้าวโพดฝักอ่อน
  3. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ปริมาณปุ๋ยที่ใส่
  5. การชลประทานหรือการให้น้ำ

ระยะเวลาปลูกข้าวโพดฝักอ่อนและอัตราการปลูกขึ้นอยู่กับการใส่ปุ๋ย ระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปลูกคือ 50 * 50 จำนวน 3 ต้นต่อหลุม หรือ 50 * 40 * 3 จำนวน 3 ต้นต่อหลุมขึ้นไป ไม่ควรปลุกให้แน่นจนเกินไปเพราะอาจจะกระทบต่อปริมาณการผลิตได้ โดยจะมีผลกระทบที่ตามมาดังนี้

  1. น้ำหนักของข้าวฝักโพดจะลดลง
  2. ขนาดของฝากจะลดลงทั้งความยาวและความกว้าง
  3. ทำให้จำนวนฝักต่อต้นลดลง
  4. ทำให้ปริมาณของต้นไม่มีฝักมากขึ้น
  5. ทำให้ต้นล้มและเกิดโรคเน่าคอดินมากขึ้น
  6. ทำให้เจริญเติบโตช้าและต้นเตี้ยกว่าปกติ

การใส่ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อน

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อข้าวโพดฝักอ่อนได้แก่ไนโตรเจนฟอสฟอรัสส่วนโปแตสเซียมเป็นลำดับสำคัญที่อันดับรอง ดังนั้น ในท้องถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงปุ๋ยที่จะใช้ในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ครบทุกสารอาหาร แนวทางการปฏิบัติในการใส่ปุ๋ยแบบกว้างๆได้แก่

  1. สภาพของสวนยกร่องปลูกข้าวโพดฝักอ่อนติดต่อกันใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียวอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้งคือรองก้นหลุมตอนปลูกและโรยข้างแถวเมื่ออายุข้าวโพด 25 ถึง 30 วันค่อยใส่ครึ่งหลัง จากปริมาณที่เหลือทั้งหมด
  2. ในดินหน้าตามหลังข้าวใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียวอัตรา 15 ต่อ 30 กิโลกรัมต่อไร่ใช้วิธีเดียวกันกับข้อ 1
  3. ในพื้นที่ไร่ที่อุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงขั้นต่ำควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากปริมาณอยู่ที่ 1-2 ตันต่อไร่และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 75 ถึง 100 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมตอนปลูกและปุ๋ยไนโตรเจน 10-15 กิโลกรัมต่อไร่โดยข้างแถวเมื่ออายุครบ 25 ถึง 30 วันถ้าดินดีใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว 20 กรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง
รวงข้าวโพดฝักอ่อน

การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อน

การให้น้ำข้าวโพดฝักอ่อนจะเป็นจะต้องใส่ใจใกล้ชิดเพราะข้าวโพดฝักอ่อนเจริญเติบโตได้ดีมีฝากสมบูรณ์พื้นที่ดินที่ใช้ต้องมีความชื้นตลอดฤดูกาล แต่ระมัดระวังอย่าให้ถึงกับแฉะจนเกิดการชะงักของการเจริญเติบโต การขัดน้ำหรือปล่อยให้ดินแห้งในช่วงที่เกิดการเจริญเติบโตจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีผลต่อผลผลิตขนาดของฝักข้าวโพดอ่อนรวมถึงคุณภาพของฝากด้วย ซึ่งจะทำให้ฝักข้าวโพดมีรูปร่างผิดปกติเกิดขึ้นมากถ้าขาดน้ำในช่วงที่ฝักอ่อนติดแล้ว โดยข้าวโพดฝักอ่อนต้องการน้ำโดยพิจารณาในระดับดินที่ศูนย์ถึง 25 ซม.ตลอดฤดูการปลูก ในการปฏิบัติทั่วไปของการให้น้ำในฤดูแล้ง ขณะที่ข้าวโพดยังเล็กให้น้ำทุก 2-3 วันเมื่อต้นสูงประมาณ 50 ถึง 60 cm หรือสูงกว่าเข่าให้น้ำทุก 5-7 วัน 

การพรวนดินและการกำจัดวัชพืชสำหรับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

ข้าวโพดฝักอ่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น แม้จะมีวัชพืชขึ้นแต่ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง การใส่ปุ๋ยในช่วงอายุข้าวโพด 10 ถึง 20 วัน จะช่วยกำจัดวัชพืชเหมือนเป็นการพรวนดินทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงจะทำเพียงครั้งเดียวก็พอ หรือถ้าต้องการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้ใช้น้อยๆอาจจะใช้  อลาคอร์ อัตรา 600-700 ซีซีต่อไร่ฉีดพ่นหลังจากการปลูกขณะที่ข้าวโพดและวัชพืชยังไม่งอก

การถอดยอดข้าวโพดฝักอ่อน

เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วันหรือมีใบที่เป็นใบจริงครบ 7 คู่ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มออกดอกมาจากใบธงหรือยอดใบ ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งโดยใช้มือลูบจับลำต้นอีกมือนึงจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆและถอดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสร เพราะถ้ามีการผสมเกสรเกิดข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโป่งพองทำให้ข้าวโพดไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดนอกจากนี้ถอดยอดยังเป็นช่วยเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ผลผลิตข้าวโพดอ่อนเพิ่มขึ้นด้วย การถอดยอดจึงเป็นเทคนิคสำคัญที่เกษตรกรชาวเกษตรอินทรีย์ไม่ควรละเลยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน

ควรเก็บเกี่ยวหลังจากดึงดอกตัวผู้ออกแล้วประมาณ 3-5 วันวิธีการเก็บนั้นให้สังเกตจากไหมที่เริ่มโผล่พ้นลายสักมีความยาว 1-2 เซนติเมตรจะเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวมากที่สุด และการเก็บเกี่ยวให้เริ่มเก็บเกี่ยวจากบนสุดที่เป็นฝักแรกและฝักคนอื่นๆตัดต่ำลงมา การหักฝักควรหักให้ติดลำต้นไปด้วยเพราะจะทำให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้ว และควรเก็บเกี่ยวทุกวันเพื่อไม่ให้ฝักแก่เกินไป

การเก็บรักษาข้าวโพดฝักอ่อนหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว

เมื่อเราทำการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนแล้วเกษตรกรชาวเกษตรอินทรีย์ควรที่จะเก็บเข้าในที่ร่มหรือโรงเรือนที่มีการระบายอากาศที่ดี พยายามจัดวางให้ผลผลิตระบายความร้อนได้ไม่ควรเก็บข้าวโพดฝักอ่อนไว้เป็นกองสูงๆและทิ้งไว้หลายวันถ้าเป็นไปได้ควรปอกลอกเปลือกออกทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยว

และนอกจากนี้ควรขนส่งให้เร็วที่สุดไม่ควรกรองฝักข้าวโพดไว้บนพื้นหรือบนรถบรรทุกโดยตรงควรใช้ภาชนะสำหรับข้าวโพดอ่อนที่ปอกเปลือกแล้วควรบรรจุลงกล่องกระดาษหรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ

การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนต้องไม่กรีดให้เกิดบาดแผลลอกหมายให้เกลี้ยงเครื่องมือที่ใช้ควรเป็นมีดและภาชนะบรรจุที่ต้องสะอาด และการทำความสะอาดจะช่วยลดปริมาณเชื้อราในพื้นที่ต่างๆ

สำหรับผู้ส่งออกควรลดอุณหภูมิของข้าวโพดฝักอ่อนที่ได้มาจากแปลงปลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้วิธีที่นิยมคือการอัดลมเย็น  จะช่วยให้ลดอัตราการเน่าและสูญเสียน้ำของตัวฝักข้าวโพดได้