หลังจากช่วงนี้ผ่านมามีการออกมาพูดถึงน้ำขิงต้านโควิด มีข้อมูลออกมายืนยันจากแพทย์แผนไทยว่าไม่สามารถต้านได้ ไม่มีข้อมูลวิจัยรองรับ แต่ขิงก็ยังเป็นที่ขายดีอยู่จากความเชื่อและข่าวสารที่ไม่ทั่วถึง เกษตรกรก็ออกมาปลูกขิงกันเป็นจำนวนมากและพบมีโรคเหี่ยวในช่วงหน้าฝน

ขิง

ข้อเท็จจริง: ยังไม่มีข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยว่า น้ำขิงสามารถต้านโควิดได้ดังนั้น ควรระมัดระวังการสื่อสารสู่สาธารณะ ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ดี ขิง พริกไทย และเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สามารถนํามาใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยได้

ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ประกอบสารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols (6-Gingerol), shogaols และน้ํามันหอมระเหย ที่ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการไอ และยับยั้งเชื้อไวรัส ก่อโรคในทางเดินหายใจได้ สรรพคุณทางแพทย์แผนไทยขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียดแน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ

ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อทานขิงเยอะและนานๆ

  1. การใช้ในระยะยาว ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets) เนื่องจากอาจทําให้เลือดแข็งตัวช้า และทําให้เลือดไหลหยุดยาก
  2. ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ําดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
  3. ไม่แนะนําให้รับประทานในเด็กอายุต่ํากว่า 6 ปี

อาการไม่พึงประสงค์: อาการแสบร้อนบริเวณทางเดินอาหาร อาการระคายเคืองบริเวณปากและคอ ผู้ป่วยที่ไวต่อขิง อาจจะมีผิวหนังอักเสบ

ขิงสำหรับใช้ปรุงอาหาร

รคเหี่ยว

มาว่าด้วยเรื่องโรคเหี่ยวของขิงสำหรับการเพาะปลูกกันบ้าง เกษตรกรผู้ปลูกขิงให้เฝ้าระวัง โรคเหี่ยว เพราะเป็นโรคที่มีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียตัวการก่อโรคที่อยู่ในดิน สามารถไหลปนไปกับน้ำฝนได้ดี แสดงอาการม้วนห่อ สีของใบซีด ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง บริเวณโคนต้นมีอาการฉ่ำน้ำ ลำต้นเน่าหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย หักพับ แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น พบส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อผ่าลำต้นตัดตามขวางและนำมาแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5–10 นาที จะพบของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

เกษตรกรผู้ปลูกขิงควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขิงที่เริ่มแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที