อุตสาหกรรมกาแฟนั้นใหญ่โตอยู่พอสมควร เพราะถ้าชาวเกษตรอินทรีย์ลองมองพื้นที่ใกล้เคียงดูได้ ร้านกาแฟใกล้สุดบริเวณที่ท่านอยู่นั้นมีอยู่หลายร้าน และถ้าในพื้นที่ตัวเมืองมีเยอะมาก และแน่นอนหลายคนขาดกาแฟไม่ได้ในทุกๆวัน เรียกได้ว่าถึงขั้นติดกาแฟกันไป ดังนั้นกาแฟจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจ ชาวเกษตรอย่างเราๆอาจจะลองมองหาช่องทางหรือปลูกเพื่อจำหน่ายได้

จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า

  • การปลูกกาแฟสวนเดี่ยว เกษตรกรมีต้นทุนรวมไร่ละ 5,976.83 บาท ผลตอบแทนไร่ละ 11,995.28 บาท และกําไรสุทธิไร่ละ 6,018.45 บาท
  • การปลูกกาแฟสวนผสมร่วมกับทุเรียน เกษตรกรมีต้นทุนรวมของ การผลิตกาแฟไร่ละ 2,304.90 บาท และต้นทุนรวมของการปลูกทุเรียนไร่ละ 11,574.51 บาท โดยผลตอบแทน จากการปลูกกาแฟร่วมกับทุเรียนรวมไร่ละ 55,054.22 บาท และกําไรสุทธิไร่ละ 41,174.81 บาท

ถ้าดูจากตัวเลขเป็รอะไรที่น่าสนใจมากสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เพราะไม่ว่าจะปลูกแบบผสมหรือปลูกแบบเดี่ยวก็ได้กำไรดีทีเดียวในอัตราส่วนต่อไร่เท่านั้น

การปลูกกาแฟร่วมกับทุเรียน

ลองไปข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับส่วนแบ่งตลาดกาแฟที่เป็นอยู่ตอนนี้ โดยที่ตลาดกาแฟอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและกาแฟคุณภาพมีลักษณะเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย ในส่วนของส่วนเหลื่อมการตลาดมี 3 กรณี คือ

  1. กรณีจําหน่ายสารกาแฟอุตสาหกรรมเพื่อโรงงานแปรรูป พบว่าส่วนเหลื่อมการตลาดในการจําหน่ายสารกาแฟ กิโลกรัมละ 4.76 บาท ราคาที่สถาบันเกษตรกรได้รับจากโรงงานแปรรูปกิโลกรัมละ 74.50 บาท ต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 3.50 บาท และสถาบันเกษตรกรได้รับกําไรสุทธิกิโลกรัมละ 1.26 บาท
  2. กรณีสถาบันเกษตรกรรับซื้อผลกาแฟสดคุณภาพเพื่อแปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว พบว่า ส่วนเหลื่อมการตลาดในการจําหน่ายสารกาแฟ กิโลกรัมละ 225.94 บาท โดยราคาที่สถาบันเกษตรกรได้รับจากร้านค้าปลีก กิโลกรัมละ 314.29 บาท ขณะที่ต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 204.46 บาท และสถาบันเกษตรกรได้รับกําไรสุทธิกิโลกรัมละ 21.48 บาท
  3. กรณีสถาบันเกษตรกรรับซื้อสารกาแฟคุณภาพเพื่อแปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว พบว่า
    ส่วนเหลื่อมการตลาดในการจําหน่ายสารกาแฟ กิโลกรัมละ 129.50 บาท โดยราคาที่สถาบันเกษตรกรได้รับจากร้านค้าปลีก กิโลกรัมละ 225.00 บาท ขณะที่ต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 118.49 บาท และสถาบันเกษตรกร ได้รับกําไรสุทธิกิโลกรัมละ 11.01 บาท

ถ้าดูจากส่วนแบ่งตลาดก็ออกจะเน้นไปทางผูกขาดทางการค้าแต่ด้วยที่มีคนบริโภคกาแฟจำนวนมากทำให้เกษตรกรยังสามารถเติมโตได้อีก ส่วนทางเลือกที่เหมาะสมในการผลิตกาแฟโรบัสตา คือ เกษตรกรผลิตกาแฟคุณภาพโดยปลูกร่วมกับทุเรียนและขายกาแฟในรูปของผลกาแฟสดคุณภาพ และสถาบันเกษตรกรซื้อผลกาแฟสดคุณภาพเพื่อแปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว ซึ่งทางเลือกดังกล่าวจะทําให้ได้รับกําไรสูงสุด หวังว่าเกษตรกรชาวเกษตรอินทรีย์จะได้รับประโยชน์จากเรื่องราวในมุมการตลาดและการเติบโตที่หยิบมาเล่าให้ฟังกันได้นะครับ